• October 30, 2024

แจงยิบผลสำรวจ “อีอีซี” ดึงเงินลงทุน 5 ประเทศชั้นนำโลก

นางชลจิต วรวังโส วีรกุล ผู้ช่วยเลขาธิการ ด้านเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เปิดผยว่า นับตั้งแต่เริ่มต้นโครงการเมื่อปี 61 จนถึงปัจจุบัน อีอีซี ได้ประสบความสำเร็จการผลักดันให้มีผู้ประกอบการต่างชาติ เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงในพื้นที่ อีอีซี อย่างต่อเนื่อง โดยได้มี 5 ประเทศชั้นนำของโลกเข้ามาลงทุนสูงสุด ได้แก่ ประเทศจีน รองลงมาเป็น ประเทศญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา, ฝรั่งเศส และเยอรมนี มีมูลค่าการลงทุนรวมสูงถึง 439,903 ล้านบาทคำพูดจาก ทดลองปั่นสล็อต

โดย ประเทศจีน นับว่าเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ และนักลงทุนหลักของประเทศไทยและลงทุนสูงสุดในพื้นที่ อีอีซี ซึ่งจีนได้ลงทุนตามข้อริเริ่ม Belt and Road Initiative (BRI) และยุทธศาสตร์การพัฒนา Green & Circular เชื่อมโยงเชิงพื้นที่ (อ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า) และเส้นทางขนส่งสินค้าทางบกและทางทะเลสายใหม่  กับไทย และ CLMV (กัมพูชา, ลาว, เมียนมา และเวียดนาม) โดยมีแนวโน้มขยายการลงทุนในพื้นที่อีอีซีต่อเนื่อง ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่สําหรับรถยนต์ไฟฟ้า โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล 5G และพลังงานทดแทน เป็นต้น

หากนับตั้งแต่เริ่มต้นอีอีซี จนถึงปัจจุบัน ประเทศจีนได้เข้ามาลงทุนสูงถึง 206,979 ล้านบาท โดยการลงทุนส่วนใหญ่จะอยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ และยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และชิ้นส่วนยานยนต์ 99,436 ล้านบาท อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล้กทรอนิกส์อัจฉริยะ 34,358 ล้านบาท และอุตสาหกรรมอื่น ๆ อาทิ พลังงานทดแทน 56,074 ล้านบาท  สำหรับการลงทุนในปี 2565 (ม.ค.-ธ.ค) มีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 46,155 ล้านบาท ซึ่งพื้นที่การลงทุน ส่วนใหญ่จะอยู่ในจังหวัดระยอง มียอดการลงทุนกว่า 108,942 ล้านบาท รองลงมาเป็นจังหวัดชลบุรี มีมูลค่าการลงทุน 87,526 ล้านบาท และจังหวัดฉะเชิงเทรา มีมูลค่าลงทุน 10,511 ล้านบาทคำพูดจาก ทดลองเล่น

ประเทศญี่ปุ่น นับเป็นประเทศที่เข้ามาลงทุนในไทยและพื้นที่ อีอีซี อย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยใช้พื้นที่ อีอีซี เป็นฐานการผลิตสำคัญในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน, อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประเทศญี่ปุ่นได้เข้ามาลงทุนในไทยตามแผนยุทธศาสตร์ Green Growth Strategy เพื่อเป้าหมาย Carbon Neutrality 2050 โดยอุตสาหกรรมที่จะมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น อาทิ พลังงานทดแทน, ออโตเมชั่นและดิจิทัล และสนใจลงทุนในโครงการเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi), การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา, การแพทย์ Genomics และการพัฒนาเมืองใหม่ Livable & Smart City ในพื้นที่อีอีซี

โดยญี่ปุ่น มีมูลค่าการลงทุนในพื้นที่ อีอีซี สูงเป็นอันดับที่ 2 นับตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน มีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 158,649 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน 62,044 ล้านบาท รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 40,236 ล้านบาท และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 26,533 ล้านบาท การลงทุนรวมในปี 2565 (ม.ค.-ธ.ค.) มียอดลงทุน 29,461 ล้านบาท และพื้นที่ที่นักลงทุนญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในพื้นที่ อีอีซี มากที่สุด คือ จังหวัดระยอง มีมูลค่าการลงทุน 78,737 ล้านบาท รองลงมาเป็นจังหวัดชลบุรี มีมูลค่าการลงทุน 64,062 ล้านบาท และจังหวัดฉะเชิงเทรา มีมูลค่าการลงทุน
15,850 ล้านบาท

สหรัฐอเมริกา ถือเป็นประเทศคู่ค้าและนักลงทุนสำคัญในพื้นที่อีอีซี ส่วนใหญ่ลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร และอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง โดยสหรัฐจะมุ่งกระชับความสัมพันธ์กับไทยและอีอีซี ภายใต้กรอบ Indo-Pacific Strategy เพื่อเป็นฐานด้าน ซัพพลายเชนของชิ้นส่วนอุตสาหกรรม และโลจิสติกส์ ในภูมิภาคอาเซียนและประเทศลุ่มแม่น้ำโขง โดยมีแนวโน้มขยายการลงทุนในอุตสาหกรรม BCG ดิจิทัล โลจิสติกส์ การแพทย์สมัยใหม่ และอิเล็กทรอนิกส์สําหรับยานยนต์ไฟฟ้า

สำหรับการลงทุนของสหรัฐ ตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน มีมูลค่ารวม 50,326 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมดิจิทัล ดาต้าเซ็นเตอร์ สูงสุด 24,810 ล้านบาท รองลงมาได้ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วน 8,284 ล้านบาท และอุตสาหกรรมเกษตรและแปรรูปอาหาร อาหารแช่แข็ง อาหารสัตว์เลี้ยง 5,852 ล้านบาท และพื้นที่ที่นักลงทุนสหรัฐเข้ามาลงทุนในพื้นที่อีอีซี มากที่สุด คือ จังหวัดระยอง มีมูลค่าการลงทุน 38,929 ล้านบาท รองลงมาเป็นจังหวัดชลบุรี มีมูลค่าการลงทุน 9,932 ล้านบาท และจังหวัดฉะเชิงเทรา มีมูลค่าการลงทุน 1,465 ล้านบาท

ประเทศฝรั่งเศส เป็นพันธมิตรและนักลงทุนที่สําคัญของไทยและพื้นที่อีอีซี ในอุตสาหกรรมการแพทย์ ผลิตเลนส์และคอนแทคเลนส์ อุตสาหกรรมเกษตรและแปรรูปอาหาร ซึ่งฝรั่งเศส ให้ความสําคัญกับยุทธศาสตร์ Low-Carbon Strategy และกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนไปสู่ประเทศในกลุ่มอาเซียนเพิ่มขึ้น ซึ่งมีแนวโน้มขยายการลงทุนในอุตสาหกรรม BCG พลังงานทดแทน Multimodal Connectivity อุตสาหกรรมด้านอวกาศ และอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ เช่น โรงกลั่นชีวภาพ จากความได้เปรียบในด้านความหลากหลายทางชีวภาพของไทย

สำหรับการลงทุนของประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน มีมูลค่ารวม 15,406 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่จะลงทุนในอุตสาหกรรมการแพทย์ อุปกรณ์การแพทย์ เลนส์ มีมูลค่า 13,637 ล้านบาท รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ 812 ล้านบาท และอุตสาหกรรมอากาศยาน 642 ล้านบาท ในพื้นที่อีอีซี ที่นักลงทุนฝรั่งเศสเข้ามาลงทุนมากที่สุด คือ จังหวัดระยอง มีมูลค่าการลงทุน 12,709 ล้านบาท รองลงมาเป็นจังหวัดชลบุรี มีมูลค่าการลงทุน 2,684 ล้านบาท และจังหวัดฉะเชิงเทรา มีมูลค่าการลงทุน 13 ล้านบาท

ประเทศเยอรมนี ถือเป็นพันธมิตรและนักลงทุนที่สําคัญของไทยและอีอีซี ส่วนใหญ่จะเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ยานยนต์และชิ้นส่วน และแปรรูปอาหาร ซึ่งเยอรมนีได้ให้ความสําคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมการปกป้องสภาพภูมิอากาศ และยุทธศาสตร์ในการกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนไปสู่ประเทศในกลุ่มอาเซียนเพิ่มขึ้น โดยจะเน้นการพัฒนานวัตกรรม Digital Transformation & Multimodal Connectivity ซึ่งมีแนวโน้มขยายการลงทุนในอุตสาหกรรมดิจิทัล ระบบออโตเมชั่น อุตสาหกรรมชีวภาพ พลังงานสะอาด และยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น

โดยการลงทุนของเยอรมนีในพื้นที่ อีอีซี ตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน มีมูลค่า 8,543 ล้านบาท ส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 4,441 ล้านบาท รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วน 1,774 ล้านบาท และอุตสาหกรรมเกษตรและแปรรูปอาหาร 780 ล้านบาท พื้นที่อีอีซี ที่นักลงทุนเยอรมันเข้ามาลงทุนมากที่สุด คือ จังหวัดระยอง มีมูลค่าการลงทุน 5,453 ล้านบาท รองลงมาเป็นจังหวัดชลบุรี มีมูลค่าการลงทุน 2,845 ล้านบาท และจังหวัดฉะเชิงเทรา มีมูลค่าการลงทุน 245 ล้านบาท